รฟม.โต้ “ชูวิทย์”ยัน “รถไฟฟ้าสีส้ม”ไม่มีเงินทอน3หมื่นล้าน ท้าโชว์หลักฐาน!

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แถลงชี้แจงกรณี นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ตั้งข้อสังเกตต่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวิทนวงศ์) ผ่านระบบ Zoom ว่า รฟม.ยืนยันว่า การดำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในมาตรา 35 ถึงมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ปัจจุบันการคัดเลือกเอกชนดำเนินการแล้วเสร็จ และสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมลงทุนตามาตรา 41 แล้ว ขั้นตอนต่อไป รฟม.จะรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นผู้ถูกฟ้องคดี เพื่อนำมาประกอบเรื่องเสนอ รมว.คมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนต่อไป

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าโครงการนี้ไม่มีเงินทอน 3 หมื่นล้านบาท ตามที่นายชูวิทย์กล่าวอ้าง ซึ่ง รฟม.ไม่เคยทราบมาก่อน และไม่เคยมีเรื่องดังกล่าวปรากฏเลย ซึ่งหากนายชูวิทย์มีหลักฐานเอกสารตามที่กล่าวอ้าง ขอให้นำเอกสารการโอนเงินที่ประเทศสิงคโปร์มาแสดงต่อสาธารณชน และส่งให้กับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบ และให้เป็นที่ประจักษ์ว่าทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย และเข้าข่ายฟอกเงินหรือไม่

“หากเอกสารหลักฐานที่นายชูวิทย์นำมาแสดง และพบว่าข้อมูลเป็นเท็จ ผู้ที่ถูกพาดพิง หรือปรากฏอยู่ในเอกสารก็คงต้องมีการดำเนินคดี ซึ่งในส่วนของ รฟมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. หากนายชูวิทย์ไม่แสดงเอกสารหลักฐานต่อสาธารณชน ถือว่าเป็นการทำให้ รฟม.เสื่อมเสียชื่อเสียง และ รฟม.จะพิจารณาดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป” ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวและว่า ทั้งนี้ ปัจจุบันคดีต่าง ๆ ที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ถูกฟ้องคดีนั้น ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว โดยประเด็นการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินข้อเสนอในการคัดเลือกเอกชนครั้งที่ 1 นั้น ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างรอศาลปกครองสูงสุดพิพากษา ซึ่งประเด็นที่ นายชูวิทย์พูดพาดพิงถึงมติที่ประชุมศาลปกครองสูงสุดนั้น ถือเป็นกระบวนการภายในของศาลปกครองที่ไม่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ต้องรอให้ปรากฏในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนครั้งแรก คดีนี้ยังอยู่ระหว่างรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเช่นกัน ส่วนประเด็นการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่มีการล็อกสเปก ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ศาลปกครองกลาง พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการคัดเลือกดำเนินการตามกฎหมาย เปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วมในการคัดเลือกมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น และไม่มีลักษณะเป็นการตัดสิทธิหรือกีดกันผู้ใดมิให้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ จึงมีคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว และประเด็นการดำเนินการของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง และเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบ หรือไม่

โดยคดีนี้ฟ้องร้องในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า ผู้ว่าการ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้แก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอ ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใด และกรณีที่มีการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ไม่มีการกลั่นแกล้งผู้ใด หรือกระทำนอกขอบเขตของกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง.